มะพร้าว การขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง

มะพร้าว การขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน และฝนตกหนักบางพื้นที่คลินิกพืชคูลเกษตร เตือนผู้ปลูกมะพร้าวในระยะการเจริญเติบโต รับมือการขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ต้น มะพร้าว

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

ลูก มะพร้าว

มะพร้าว ที่ยังไม่ให้ผลผลิต แสดงอาการใบเหี่ยว และมีสีเหลืองจนถึงน้ำตาลแห้ง และอาจทำให้มะพร้าวตายได้ มะพร้าว ที่ให้ผลผลิตแล้ว ทางใบหักพับ โดยเฉพาะใบล่าง ส่งผลให้ทะลายมะพร้าว หัก ผลร่วงก่อนเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตเสียหาย

คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำแนวทางป้องกัน/แก้ไข

  1. กรณีมีแหล่งน้ำควรมีการให้น้ำมะพร้าวอาทิตย์ละ 2 ครั้งหรือสังเกตดูจากความชื้นของดินก่อนให้น้ำครั้งถัดไป
  2. กรณีที่ไม่มีแหล่งน้ำ ควรหาหญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นมะพร้าว เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากดินบริเวณโคนต้น หรืออาจใช้ทางมะพร้าว หรือตาข่ายพรางแสง
  3. ควรตัดทางใบแห้งโดยเฉพาะใบล่างออกเพราะใบแห้งมีสีน้ำตาลไม่สามารถสังเคราะห์แสงหรือสร้างอาหารได้แล้ว และหากยังแล้งต่อเนื่องควรตัดทางใบออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำของมะพร้าว

พืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เมื่อปลูกแล้วควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูก ก็เช่นกัน เราปลูกมะพร้าว แล้วจะได้รับประทานน้ำ มะพร้าว ที่รสชาติหวาน กลิ่นหอม ได้เนื้อ มะพร้าว ที่ให้น้ำกะทิเข้มข้น มัน หรือได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูง ก็ขึ้นอยู่กับ การดูแลมะพร้าว ที่ดีและสม่ำเสมอ เพราะไม่เพียงแค่คุณภาพที่ดีที่จะได้รับ ผลผลิตที่สูงก็จะตามมาอย่างคุ้มค่ากับการลงทุน การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูกนั้น ผู้ปลูกควรเริ่มจากการให้น้ำ การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การป้องกันและกำจัดศัตรู จนกระทั้งไปถึงขั้นตอน การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ( ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น สามารถติดตามได้ในบทความ โรคของมะพร้าว และแมลงศัตรูพืชของมะพร้าว  )

การให้น้ำ

การปลูกมะพร้าว นั้นอาศัยวิธีการให้น้ำแบบอาศัยธรรมชาติ คือ ปลูกในฤดูฝน รอน้ำจากธรรมชาติ คือน้ำฝน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่หากเกิดภาวะฝนแล้ง ก็มีผลกระทบกับ มะพร้าว เช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะปลูกมะพร้าวด้วยวิธียกร่อง เพื่อให้มะพร้าวได้รับน้ำตลอดทั้งปี ที่สำคัญ ต้องดูแลดินให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการดูแลมะพร้าว

การให้ปุ๋ย

เป็นขั้นตอนของการดูแลดินพืชผลทุกชนิดรวมทั้งมะพร้าวมีปริมาณผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับธาตุอาหารในดิน การที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ คือดินมีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของมะพร้าว การให้ปุ๋ยเพื่อปรับสภาพดินนั้น สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7   การให้ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ด้วย เพื่อการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุดในการเพิ่มจำนวนผลผลิต และธาตุอาหารอื่นตามลำดับ ดังนี้

  • โพแทสเซียม 13.60 – 20.96 กิโลกรัม ต่อไร่
  • ไนโตรเจน 9.44 – 14.56 กิโลกรัม ต่อไร่
  • ฟอสฟอรัส 4.32 – 6.40 กิโลกรัม ต่อไร่

ต่อไร่ปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด 13-13-21 และปุ๋ยเกรด 12-12-17-2 แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเป็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้น

***ควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ธาตุอาหารถูกกักเก็บไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้*** การให้ปุ๋ยควรใส่ให้สัมพันธ์กับอายุมะพร้าว

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่

โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

                                                                       อ้างอิง

เนื้อหาhttps://at.doa.go.th/ew/index.php?home&plant_pest_id=1424รูปภาพhttps://www.touronthai.com/travelguide/placeinfo.php?id=148344 https://today.line.me/th/v2/article/3N32Bny https://www.thailandplus.tv/archives/128561http://www.m-group.in.th/article/.ht

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *