เหตุอากาศ แปรปรวน ไตรมาส 3 เกษตรหดตัว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 (ก.ค.-ก.ย.) หดตัว 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ช่วงไตรมาส 1-2 ขยายตัว 4.7% และ 4.4% ตามลำดับ เนื่องจากสภาพ เหตุอากาศ แปรปรวน ประกอบกับปรากฏการณ์ลานีญาที่มีกำลังแรงขึ้น อิทธิพลของลมมรสุมและพายุที่เข้ามาหลายระลอก การเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าเกษตร และผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำ
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 2-3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากปัจจัยสนับสนุนด้านสภาพอากาศโดยทั่วไปที่ยังคงเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการผลิต ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน บริหารจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการเปิดประเทศ ทำให้มีการ เดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ อาจจะต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2566 ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิตทั้งราคาน้ำมัน ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และอาหารสัตว์ รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว
คลินิกพืชคูลเกษตรเผยถึงรายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของพืช หดตัว 2.8% พืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง, สับปะรดโรงงาน, ยางพารา, ทุเรียน, มังคุด และเงาะ ส่วนพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี, ข้าวนาปรังจากภาคใต้, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ปาล์มน้ำมัน และลำไย
ปศุสัตว์ ขยายตัว 1.7% สินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นคือ ไก่เนื้อและโคเนื้อ ส่วนสินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตลดลงคือ สุกร, ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ
ประมง หดตัว 1.5% เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีการออกเรือจับสัตว์น้ำลดลง และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงลดลงเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและโรคกุ้ง ส่งผลให้กุ้งโตช้าและกินอาหารน้อย กุ้งที่จับได้จึงมีขนาดเล็กลง ส่วนปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยง
บริการทางการเกษตร ขยายตัว 2.9% กิจกรรมการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น สาขาป่าไม้ ขยายตัว 1.8% เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ถ่านไม้ ครั่ง และรังนกเพิ่มขึ้น.
พี่น้องเกษตรกรสามารถสอบถาม คลินิกพืชคูลเกษตร ช่องทางติดต่อสอบถามปัญหาพืช สอบถามได้ที่ โทร. 095-237-1723 ติดต่อโดยตรงทางเพจ คลินิกพืชคูลเกษตร ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่
อ้างอิง
https://www.thairath.co.th/news/local/2540781
ที่มา:ไทยรัฐ ออนไลน์