การทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nilaparvata lugens (Stål)
  • วงศ์ : Delphacidae
  • อันดับ : Homoptera
  • ชื่อสามัญอื่น : –

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาวและชนิดปีกสั้น ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

ลักษณะการทำลายและการระบาด  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก”อาการไหม้” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่ง ตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2 – 3 ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

ลักษณะการระบาดรุนแรงในนา

  • อาการไหม้ของต้นข้าว
  • ต้นข้าวที่เป็นโรคใบหงิก

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด  วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่นทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

  • การใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว มีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกิน และขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่ม จำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • การใช้สารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ๆ (ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลายและสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง
  • ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แก่
  • มวนเขียวดูดไข่ ที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล2-3เท่ามวนชนิดนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้
  •  แมงมุมสุนัขป่า เป็นแมงมุมในอันดับ เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุด ในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆ ในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าว แตกกอ

คลินิกพืชคูลเกษตร จัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

1) ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอ ปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3) เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ ระหว่าง 6 :1- 8 :1 หรือตัวอ่อนวัยที่ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30-45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้นให้ใช้สารฆ่าแมลง  ชุดเพลี้ยกระโดดกำแพง ในระยะข้าว ตั้งท้องถึงออกรวง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อ 1 ต้น และพบมวนเขียวดูดไข่จำนวนน้อยมาก

4) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น

ชุดเพลี้ยกระโดดกำแพง กำจัดป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยอ่อนออกฤทธิ์เร็วคูลเกษตร

  • ชื่อสามัญ:กะบอม 1ลิตร
    คุณสมบัติ:ใช้ป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นฝ้ายในฝ้าย
  • ประโยชน์:แมลงศัตรูพืชที่กำจัดได้
  • เพลี้ยจักจั่นฝ้ายในฝ้าย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • เพลี้ยอ่อน
  • เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย
  • แมลงสิง บั่ว
  • ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตายและกินตาย 
  • อัตราการใช้ 30-40 ซีซี 20 ลิคร
  • ชื่อสามัญ:โซเทค 500ซีซี
    คุณสมบัติ : ยับยั้งการลอกคราบของแมลง ควบคุมการฟักไข่ ลดการวางไข่ ควบคุมแมลงได้ยาวนาน ป้องกันกำจัด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น คุมไข่เพลี้ย ไข่หนอน แมลงหวี่ขาว
    ✔️อัตราและวิธีการใช้ :อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่

โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

อ้างอิง

  • http://webold.ricethailand.go.th
  • http://suphanburinews.blogspot.com
  • https://www.thairath.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *