การเพาะปลูกกระเทียมและการดูแลรักษาผลผลิต

กระเทียม และการดูแลรักษาผลผลิกระเทียมส่วนใหญ่  จะปลูก  2  ช่วง  คือ 

  1. เพาะปลูกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อายุประมาณ 75-90 วัน กระเทียม รุ่นนี้เรียกว่ากระเทียมดอง หรือกระเทียมเบา นิยมใช้ทำกระเทียมดอง ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานเพราะฝ่อเร็ว
  2. เพาะปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม  หลังการเก็บเกี่ยวข้าวและเก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน  อายุประมาณ  90-120  วัน  เรียกว่ากระเทียมปี  ใช้ทำกระเทียมแห้งเพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน คลินิกพืชคูลเกษตร

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

พันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา คลินิกพืชคูลเกษตร สามารถแบ่งได้ตามอายุการแก่เก็บเกี่ยวได้  ดังนี้

  1. พันธุ์เบา หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแหลม  ลำต้นแข็ง  กลีบเท่าหัวแม่มือ  กลีบและหัวสีขาว  มีกลิ่นฉุนและรสจัด  อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ  75-90  วัน  เช่น  พันธุ์พื้นเมือง          ศรีสะเกษ  เป็นต้น
  2. พันธุ์กลาง ลักษณะใบเล็กและยาว  ลำต้นใหญ่  และแข็ง  หัวขนาดกลาง  หัวและกลีบสีม่วง  อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ  90-120  วัน  นิยมปลูกมากในภาคเหนือ  เช่นพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่  เป็นต้น
  3. พันธุ์หนัก ลักษณะใบกว้างและยาว  ลำต้นเล็ก  หัวใหญ่  กลีบโต  เปลือกหุ้มสีชมพู  น้ำหนักดี  อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ  150  วัน  เช่น  พันธุ์จีน  หรือไต้หวัน  เป็นต้น

คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำการเตรียมดิน จะช่วยให้กระเทียมลงหัวดี และควรเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 – 2.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูกระยะห่างระหว่างแปลง (ทางเดินหรือร่องน้ำ) ควรกว้าง 50 ซม.

การปลูกกระเทียม

  • โดยใช้กลีบซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่ จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การนำกระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะทำให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน โตไม่สม่ำเสมอกัน
  • ขนาดของกลีบจะมีอิทธิพลหรือความสำคัญ ต่อการลงหัวของ กระเทียม  จากการศึกษาพบว่าพันธุ์ที่มีกลีบใหญ่  ถ้าหากใช้กลีบขนาดกลางปลูกจะทำให้ผลผลิตสูง   พันธุ์ที่มีกลีบขนาดเล็ก  ถ้าใช้กลีบใหญ่ที่สุดปลูกจะให้ผลผลิตสูง
  • ปกติกลีบที่มีน้ำหนักก  2 กรัม จะให้ผลผลิตสูง
  • การปลูกอาจให้น้ำก่อนและใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ  เป็นแถวตามระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กก. หรือกลีบ 75-80 กก. ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 ซม. จะให้ผลผลิตสูงที่สุด สำหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 ซม. และหัวพันธุ์ 300-350 กก.ต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืช ที่จะมีขึ้นในระยะแรก เก็บความชื้นและลดความร้อนเวลากลางวัน

การดูแลการให้น้ำ

ควรให้น้ำก่อนปลูกและหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอในช่วงระหว่าง่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ำประมาณ 10 ครั้ง/ฤดู โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์

การคลุมดิน

หลังปลูก กระเทียม ควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง หรือเศษวัสดุที่สามารถผุพังเน่าเปื่อยอื่นๆ หนาประมาณ 2-3 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก และรักษาความชื้นในดิน ทำให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้สำหรับกระเทียมในบ้านเรา ควรมีส่วนของไนโตรเจนเท่ากับ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน  และโพแทสเซียม 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 10-10-15, 13-13-21 เป็นต้น อัตราปริมาณ 50-100 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่งและใส่ครั้งที่ 2 ใส่แบบหว่านทั่วแปลง เมื่ออายุประมาณ 30 วันหลังปลูก ควรใช้ปุ๋ยเสริมไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตราประมาณ 25-30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันหลังปลูก

คลินิกพืชคูลเกษตรวิธีการกำจัดวัชพืชโรคที่สำคัญของกระเทียม

1) โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส ลักษณะอาการ   เริ่มแรกจะมีแผลเกิดขึ้นบนใบกระเทียม  ลักษณะเป็นจุดสีเขียวหม่นและขยายออกไปเป็นแผลรูปยาวรี  มองเห็นเป็นรอยบุ๋มเล็กน้อย  ใบหนึ่ง ๆ อาจมีหลายแผลติดกัน  จนใบแห้งและหักพับลงมา  ทำให้ใบพืชไม่สามารถปรุงอาหารตามปกติได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลงหัว   หรือหัวแก่จัด  และเกษตรกรเก็บรักษาหัวนั้นไว้  เชื้อโรคนี้อาจจะไปแพร่ระบาดในโรงเก็บได้

คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำการป้องกันกำจัด

– เก็บส่วนใบที่เป็นแผลทิ้ง  หรือเผาไฟ

– พ่นสารเคมี  เช่น  ไดโฟล่แทน  หรือไดเทน-เอ็ม-45  ทุก  7  วัน  ถ้าเป็นมากควรพ่นให้ถี่ขึ้นเป็น  3-5  วัน  หรือเพิ่มความเข้มข้นของยาเป็น  2  เท่า

2)  โรคใบจุดสีม่วง ลักษณะอาการ     เกิดกับใบกระเทียม   เริ่มแรกจะมีแผลหรือจุดสีขาวก่อน  และจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปยาวรี  สีน้ำตาลอ่อนหรือม่วง   ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มหรือเหลือง  แผลมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก  ในแต่ละใบอาจมีมากกว่า 1  แผล  ทำความเสียหายแก่กระเทียมเช่นเดียวกับโรคใบเน่า  และสามารถทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต   มีการเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด  หัวกระเทียมที่ได้ไม่แก่จัด  ไม่เหมาะที่จะใช้ทำพันธุ์  และทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

การป้องกันกำจัด คล้าย ๆ กับโรคใบเน่า  และเฉพาะโรคชนิดนี้งดใช้ยากันราประเภทดูดซึม

 3)  โรคหัวและรากเน่า

กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น

การป้องกันกำจัด

  1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
  2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
  3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น
  4. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี

4)  โรคเน่าคอดิน 

ลักษณะอาการ ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

  1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
  2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ

การเก็บรักษา กระเทียมที่มัดจุกไว้นำไปแขวนไว้ในเรือนโรงเปิดฝาทั้ง  4  ด้าน  หรือใต้ถุนบ้านที่มีการถ่านเทอากาศดี  ไม่ถูกฝน  หรือน้ำค้าง  รวมทั้งแสงแดด  ประมาณ  3-4  สัปดาห์  จะทำให้กระเทียมแห้งสนิท  คุณภาพดี 

การเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง เลือกคัดเอาหัวที่มีลักษณะรูปทรงของพันธุ์ดี สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลายและแก่เต็มที่แล้ว โดยทั่วไปนิยมคัดหัวที่มีขนาดกลาง  มีกลีบประมาณ  3-6  กลีบ  นำมาผึ่งในที่ร่มจนแห้งดี  ทำการมัดรวมกันแล้วแขวนไว้ในที่ร่มมีลมพัดผ่าน การถ่ายเทอากาศดี  ไม่ควรแกะกระเทียมเป็นกลีบ ๆ ขณะเก็บรักษาเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง  เมื่อแกะแล้วควรจะนำไปใช้ปลูกทันทีกระเทียมจะมีระยะพักตัวประมาณ  5-6  เดือน  ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมกระเทียมจะงอกได้ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่

โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

                                                                       อ้างอิง

  • https://www.arda.or.th
  • https://www.technologychaoban.com
  • https://decor.mthai.com
  • https://www.sentangsedtee.com
  • https://www.technologychaoban.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *