ลักษณะทั่วไปของ“ขี้เหล็ก”

ลักษณะทั่วไปของ“ขี้เหล็ก” ลำต้นขี้เหล็ก เป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นมีลักษณะไม่สมมาตร ไม่เป็นวงกลม และมักบิดงอ เปลือกลำต้นมีสีเทาอมดำ เปลือกแตกเป็นร่องเล็กๆตามยาว เมื่อจับจะรู้สึกสากมือ ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มใหญ่

ใบ ขี้เหล็ก เป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดใบคู่ (ใบสุดท้ายเป็นคู่) ใบแตกออกบริเวณกิ่ง เรียงสลับกัน ประกอบด้วยใบหลักยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แต่ละใบหลักประกอบด้วยใบย่อย เรียงเป็นคู่ๆ 7-16 คู่ ใบย่อยมีรูปร่างรี โคนใบ และปลายใบมน แต่หลักเว้าตรงกลางของปลายใบเล็กน้อย ใบยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นใบมองไม่ค่อยชัดเจน ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีแดงเรื่อ ใบแก่มีสีเขียวสด ไม่มีขน โดยใบอ่อนจะเริ่มแตกออกให้เห็นตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในระยะนี้จะเริ่มเก็บยอดอ่อนมาทำอาหารได้ และใบจะเริ่มแก่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งช่วงนี้จะไม่นำมาทำอาหาร แต่ต่อไปจะนำดอกอ่อนที่ออกในช่วงกรกฎาคมมาทำอาหารแทน

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

ดอก ขี้เหล็ก แทงออกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะแทงออกเฉพาะบริเวณปลายกิ่งเท่านั้น ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก มากกว่า 10 ดอก ดอกประกอบด้วยกลีบรองดอก 3-4 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองเข้ม จำนวน 5 กลีบ ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดมาภายในเป็นเกสรตัวผู้ 10 อัน ถัดมาเป็นเกสรตัวเมีย และรังไข่ ดอกจะเริ่มบานจากโคนช่อ เรื่อยๆจนถึงปลายช่อ ดอกบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานแล้ว 2-3 วัน จะร่วงล่นลงดินดอกจะบานในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมเริ่มติดฝักในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

ฝักและเมล็ด ผลขี้เหล็กเรียกว่า ฝัก มีลักษณะแบนยาว ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอมดำ ขนาดฝักกว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดเรียงตามความยาวของฝัก จำนวน 20-30 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างรีแบน สีน้ำตาลอมดำ

  • การขยายพันธุ์ ขี้เหล็ก ต้นขี้เหล็กสามารถเจริญเติบโตได้ทุกภาคของไทย เนื่องจากมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่ร้อนได้ดี และเป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ทั่วไป รวมถึงประชาชนนำยมบริโภคเป็นอาหารด้วย ในปัจจุบัน การขยายพันธุ์ขี้เหล็ก นิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ดเป็นหลัก เพราะจะให้กิ่งได้มาก แตกยอดอ่อนได้มาก
  • ที่คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำและข้อควรระวัง
  1. การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย
  2. สารบาราคอลที่ได้รับในปริมาณมากจากขี้เหล็ก อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม และมีผลทำลายเซลล์ตับ
  3. สารในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้ จึงไม่ควรรับประทานมาก และผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน
  4. จากผลการทดลองพบว่าขี้เหล็กช่วยให้นอนหลับ แต่เนื่องจากมีรายงานความเป็นพิษต่อตับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงห้ามจำหน่ายยาขี้เหล็กในรูปสมุนไพรเดี่ยวเพื่อใช้เป็นยานอนหลับหรือช่วยให้นอนหลับ

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่ โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

อ้างอิง

  • https://www.technologychaoban.com

  • https://adeq.or.th

  • https://www.kaidee.com

  • https://www.kasettambon.com

  • https://www.bangkokbiznews.com

  • https://health.kapook.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *