ปลูก ไผ่ ให้ออกหน่ออ่อนๆทั้งปี

ปลูก ไผ่ ให้ออกหน่ออ่อนๆ ทั้งปี พาไปดู “หน้อไม้” ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย เก็บหน่อขายสร้างรายได้เกือบตลอดทั้งปี หากขายนอกฤดู  หากบำรุงรักษาดี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บหน่อขายหลายปี แนะปลูกพืชอื่นที่เอื้อกับการปลูกไผ่ เพื่อขายคู่กัน

วิธีปลูกไผ่ให้มีหน่ออ่อนๆ ทั้งปีทำดังนี้

  1. สางกอ ไผ่ ให้เหลือแค่ 3 – 4 ลำต่อกอ และทำให้พื้นที่รอบกอไห้เตียนโล่ง (อย่าปล่อยให้หน่อไผ่โตกลายเป็นลำจำนวนมาก เผลอไม่นานกอไผ่จะแน่นและจัดการลำบาก)
  2. โรยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์รอบๆ กอประมาณครึ่งกระสอบ
  3. ใส่ปุ๋ยเคมี 25-7-7 ประมาณ 300 กรัมต่อกอทับลงบนปุ๋ยคอก
  4. ปิดหน้าด้วยฟางหนาประมาณ 15 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มทุกวันหรือวันเว้นวัน
  5. ครบ 1 เดือนจะมีหน่อไม้อ่อนๆ ให้ขุดมากินกันได้
  • สำหรับใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัว ที่คลินิกพืชคูลเกษตร แนะนำให้ลองมาปลูกหน้อไม้ สร้างรายได้กันดีกว่า หน้อไม้มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่หม่าจู ไผ่ซางหม่น ไผ่ไจแอนท์ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่ตงหม้อ ไผ่หก ไผ่ข้าวหลาม ไผ่บงหวาน ไผ่ดำ ฯลฯ ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ
  •  ไผ่ตงลืมแล้ง มีจุดเด่นเรื่องหน่อโต คุณภาพดีและให้ผลดกกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี จะให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัม/กอ/ปี
  • นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมากและสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว
  • ตลาดต้องการ หน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาท/กิโลกรัม แต่การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ
  • เทคนิคการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง จึงจะให้ผลผลิตที่ดี ควรปลูกในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วน ดินเหนียว ส่วนดินที่เป็นกรด เป็นทรายมากๆ สำหรับสภาพดินที่คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำให้เกษตรกรปลูก

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

  • หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ ดินทราย หรือดินลูกรัง ควรหาดินมาถมให้มีหน้าดินหนาประมาณ 30-50 เซนติเมตร อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ คือก่อนปลูกควรขุดหลุม กว้าง-ยาว 1 เมตร ลึก 0.5 เมตร นำหน้าดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อินทรียวัตถุเติมลงไปให้เต็มแล้วค่อยปลูก วิธีนี้ก็จะให้ผลผลิตได้ดีเช่นกัน หากปลูกในพื้นที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ ดินจะเก็บความชื้นได้ดี จะให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีกว่าแหล่งปลูกในพื้นที่ดอน
  • คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำเกษตรกรปลูก ไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่แค่ 1-2 ลำ เท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล
  • แปลงปลูกไผ่สามารถให้น้ำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสภาพพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้ การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะน้ำที่ผ่านจากหัวสปริงเกลอร์จะผ่านอากาศ (ไนโตรเจน, ออกซิเจน) ก่อนที่จะตกสู่พื้นดิน ทำให้น้ำมีความเย็น อากาศมีความชื้นสูง ช่วยให้หน่อไม้เติบโตเร็ว แต่การให้น้ำวิธีนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงอยู่บ้าง
  • ส่วนเทคนิคการให้น้ำแบบสูบลาดตามร่อง ควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อย และควรมีการกรีดยกร่องก่อนปลูก แล้วปลูกลงในร่องวิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้น้ำแบบสายยางรดเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกขนาดเล็กและเกษตรกรที่มีเวลาในการดูแลสวน
  • การเก็บเกี่ยวผลผลิต ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัม ต่อหนึ่งนอกฤดูกาล ราคาที่ขายได้ 40-70 บาท/กิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาท/กอ ทำให้มีรายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมรายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่ โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ

อ้างอิง

  • http://npkthailand.com 

     

  • https://www.technologychaoban.com

     

  • https://cooking.kapook.com

     

  • https://www.proextron.com

     

  • https://pagenews.net/8071/

     

  • https://www.nanagarden.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *