การปลูกข้าวและดูแลรักษา

การปลูกข้าวและดูแลรักษา

คลินิกพืชคูลเกษตร การกำจัดวัชพืช

 ผู้ปลูกไม่ต้องการในแปลงปลูกพืชหลัก วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปลูกข้าว ทำให้ผลผลิตลดลงโดยเฉพาะในข้าวไร่ จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากหากไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลแปลงปลูก ระบาดของวัชพืชอยู่ในช่วง 2-6 สัปดาห์ หลังข้าวงอก โดยวัชพืชจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แย่งแสงแดด น้ำและธาตุอาหารของข้าว ทำให้ข้าวได้รับแสงแดด น้ำและธาตุอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลให้ลำต้นแคระแกรน แตกกอน้อย หรืออาจไม่แตกกอเลย ขนาดรวงสั้นเล็ก ผลผลิตลดลง วัชพืชบางชนิด เช่น สาหร่ายไฟ เมื่อเจริญเติบโตในนาจะแพร่ขยาย อย่างรวดเร็วและปลดปล่อยแก๊สบางชนิดออกมา ทำให้น้ำบริเวณรอบๆ มีอุณหภูมิสูงจนต้นข้าวไม่สามารถเจริญเติบโตได้ วัชพืชประเภทกก เช่น กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก เมื่อแก่เมล็ดจะมีขนาดเล็ก และปริมาณมาก ทำให้แพร่ขยายได้เร็วในฤดูต่อไป

การกำจัดวัชพืชในแปลงข้าวไร่และข้าวนาที่สูงมีหลายวิธี

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

   1.1 การเตรียมดิน เตรียมดินอย่างประณีต ควรเก็บส่วน ราก หัว ลำต้นหรือเศษวัชพืชออก การเตรียมดินอย่างประณีตนอกจากจะเป็นการปรับระดับหน้าดินในแปลงสำหรับปลูกข้าวแล้ว ยังเป็นการกำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่งด้วย

 1.2 การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม พันธุ์ข้าวที่ปลูกบนที่สูงนั้นต่างจากพันธุ์ที่ปลูกในนาพื้นราบที่มีลักษณะต้นเตี้ยแตกกอมาก สำหรับข้าวที่สูงโดยเฉพาะข้าวไร่แล้ว หากเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสียหายจากการระบาดของวัชพืชได้ ในข้าวไร่จะมีกลไกในการเจริญเติบโตแข่งขันกับวัชพืชที่ต่างกัน พบว่าการเลือกใช้พันธุ์ที่มีการงอกและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะแรก การพัฒนาใบอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถสร้างอาหาร และปกคลุมพื้นที่ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้ดี มีระบบรากที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งด้านข้างและแนวลึก สามารถลำเลียงธาตุอาหารและน้ำได้อย่างรวดเร็ว พบว่าพันธุ์ข้าวที่สามารถแข่งขันวัชพืชได้ดี ต้องมีลักษณะดังนี้ คือ มีลำต้นสูงกว่าวัชพืช มีใบกว้างและยาว ค่อนข้างโน้มและหนาแน่น เพื่อให้เกิดร่มเงาแก่วัชพืช มีการแตกกอมาก และมีการเจริญเติบโตทางรากอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำพันธุ์ข้าวไร่ไปปลูกควรใช้พันธุ์ที่มีลักษณะดังกล่าวจะสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ดี

1.3 การควบคุมระดับน้ำ ใช้ได้เฉพาะในข้าวนาเท่านั้น การควบคุมระดับน้ำในนาจะควบคุมวัชพืชขณะที่มีขนาดเล็กอยู่ใต้ผิวน้ำ แต่ไม่สามารถควบคุมวัชพืชที่สูงพ้นผิวน้ำ การควบคุมวัชพืชวิธีนี้ต้องมีการเตรียมดินให้มีความราบเรียบสม่ำเสมอกันให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ระดับความลึกของน้ำในแปลงนาเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน หากผิวดินไม่ราบเรียบเสมอกันจะทำให้บริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือโผล่พ้นผิวน้ำมีวัชพืชขึ้นแข่งขันแย่งแสงแดด น้ำ และธาตุอาหารในดินไป เนื่องจากวัชพืชโดยทั่วไปมักการเจริญเติบโตได้รวดเร็วทั้งทางรากและลำต้น

1.4 การใช้แรงงานกำจัดวัชพืช การใช้มือถอนหรือเครื่องมืออื่น เช่น มีด จอบ เสียม ไถ ฯลฯ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้กำจัดวัชพืชได้ทั้งในแปลงข้าวไร่และข้าวนาที่สูง เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายประหยัด ไม่เสี่ยงต่อการใช้สารเคมีและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การกำจัดวัชพืชในแปลงข้าวไร่ ควรทำภายใน 40 วันหลังข้าวงอก ประมาณ 2-3 ครั้ง หากทำการกำจัดวัชพืชเมื่อข้าวมีอายุมากจะมีผลกระทบต่อผลผลิตของข้าว เนื่องจากข้าวจะเข้าสู่ระยะสร้างรวง หรือตั้งท้อง ในระยะนี้ข้าวจะยืดลำต้นสูงกว่าวัชพืช เช่นเดียวกับข้าวนาที่สูง ควรเก็บวัชพืชในนาที่งอกเป็นต้นเล็กๆหรือเศษวัชพืชที่ตกค้างจากการเตรียมดิน ในระยะ 2-4 สัปดาห์ประมาณ 1-2 ครั้งหรือมากกว่า หากมีจำนวนวัชพืชมากการกำจัดวัชพืชด้วยมือแต่ละครั้งควรห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่ควรใช้สารเคมีบนที่สูงเนื่องจากจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบนที่สูงและมีผลกระทบต่อพื้นราบด้วย

  1. การป้องกันโรคและแมลงสภาพอากาศในแต่ละปีมักจะมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้การระบาดของโรคและแมลงในแต่ละปีไม่แน่นอนตามไปด้วย โดยทั่วไปแล้ว ข้าวที่ปลูกในพื้นที่สูงมักจะถูกคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ ซึ่งทำให้ได้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงของแต่ละท้องถิ่น โรคที่สำคัญของข้าวที่สูง ได้แก่ โรคไหม้ โรคใบวง แต่ไม่พบการระบาดที่รุนแรงทุกปี เนื่องจากสภาพอากาศในแต่ละปีจะแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกบนที่สูงจะมีความต้านทานต่อโรคเหล่านี้ ส่วนแมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยกระโดดหลังขาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ซึ่งจะระบาดในช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ความรุนแรงของแต่ละปีจะต่างกันตามสภาพอากาศ หากความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศหนาวแผ่ปกคลุมพื้นที่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมการระบาดมักจะไม่รุนแรง หากมีการระบาดในข้าวนา ข้าวจะถูกทำลายในระยะแตกกอแต่จะสามารถฟื้นตัวได้ ส่วนในข้าวไร่ การระบาดของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจะตรงกับระยะข้าวสร้างรวงหรือตั้งท้อง ทำให้ข้าวไร่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของแมลงดังกล่าวมากกว่าข้าวนาที่สูง ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย การป้องกันทำได้โดยใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานหรือปลูกให้เร็วขึ้นกว่าเวลาปกติ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการระบาดของแมลงได้ หรือปลูกพืชที่มีกลิ่นฉุนบริเวณแปลงนา เพื่อไล่แมลง เช่น ดาวเรือง ตะไคร้หอม การป้องกันโดยคลุกเมล็ดพันธุ์กับหนอนตายอยากป่น สามารถป้องกันมดและแมลงใต้ดินได้ แต่เกษตรกรนิยมปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหาย
  2. การป้องกันสัตว์ศัตรูอื่น โดยทั่วไปแล้วแปลงข้าวบนที่สูงจะอยู่ติดกับป่าและภูเขา มักถูกสัตว์ศัตรู เช่น นก หนู กระต่าย หมูป่า ลิง ฯลฯ เข้าทำลาย ปัญหาเหล่านี้จะพบในข้าวไร่มากกว่าข้าวนา หนูและกระต่ายจะทำลายในเวลากลางคืนช่วงหัวค่ำ โดยการขุดคุ้ยหลุมปลูก กินเมล็ดข้าวและกัดกินต้นข้าวระยะตั้งท้อง นกโดยเฉพาะนกกระติ๊ดขี้หมู จิกกินข้าวระยะน้ำนมจนถึงระยะเก็บเกี่ยว หมูป่ากัดกินต้นข้าวทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มงอกจนถึงเก็บเกี่ยวโดยจะเข้าทำลายช่วงหัวค่ำ ส่วนลิงจะเข้าทำลายระยะข้าวสุกแก่โดยจะเข้าทำลายเป็นฝูง การป้องกันอาจทำได้หลายวิธี เช่น สร้างกับดัก ทำหุ่นไล่กา ใช้คนไล่ การปลูกเป็นผืนใหญ่ การเลือกปลูกพันธุ์ที่มีการออกดอกพร้อมกัน หรือปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด แตง เพื่อล่อสัตว์ประเภทฟันแทะ
  3. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากข้าวบนที่สูง ข้าวไร่จะปลูกตามความลาดชันของพื้นที่ การใส่ปุ๋ยในข้าวไร่ควรใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ดข้าว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อลดความเสียหายจากการชะล้างของฝน ส่วนข้าวนาจะปลูกตามที่ราบหุบเขาในลักษณะขั้นบันได การใส่ปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ เนื่องจากดินบนพื้นที่สูง มักจะเป็นดินร่วนปนทราย เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะได้ผลดีกว่าดินเหนียว โดยใส่ก่อนการไถเตรียมดินหรือใส่ขณะเตรียมดินขึ้นกับชนิดของปุ๋ย
  4. การทำทางระบายน้ำสำหรับข้าวนาที่สูง จะมีลักษณะพื้นที่ปลูกแตกต่างจากข้าวนาพื้นราบ กล่าวคือ เป็นนาน้ำฝน มีลักษณะเป็นขั้นบันได ตั้งขวางตามความลาดชันของพื้นที่ มีน้ำไหลผ่านพื้นที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่าตลอดเวลา และมีการกัดเซาะดินตามไปด้วย ดังนั้น จึงต้องทำทางระบายน้ำตามคันนา โดยใช้ท่อไม้ไผ่หรือท่อพีวีซี ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 นิ้ว ฝังบริเวณที่จะทำทางระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคันนาเสียหายที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำที่ไหลผ่านตลอดฤดูกาลทำนา
  1. การเก็บเกี่ยว ได้หลังข้าวออกดอกแล้วประมาณ 30 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อม เช่น หากสภาพอากาศเย็นหรือดินมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวจะออกรวงช้ากว่าปกติ ทำให้ยืดอายุการเก็บเกี่ยวไปได้ หรืออาจสังเกตใบธงหากใบธงแห้งประมาณครึ่งหนึ่ง หรือสังเกตจากเมล็ดข้าวโคนรวง หากเป็นแป้งแข็งก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเมล็ดข้าวจะร่วง ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บเกี่ยว คือ เคียว เช่นเดียวกับการเก็บเกี่ยวข้าวนาในพื้นราบ แต่เกษตรกรบนที่สูงมักเกี่ยวแบบพันกำ สำหรับ ม้ง และ เมี่ยน(เย้า) จะใช้แกละเกี่ยวเอาเฉพาะรวงเหมือนภาคใต้ของประเทศไทย การเก็บเกี่ยวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ขึ้นกับอายุของข้าว ก่อนที่จะทำการเก็บเกี่ยวข้าวควรระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง โดยปิดทางทดน้ำเข้านา แล้วไขน้ำออกทางระบายน้ำทิ้งก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 15-20 วัน

 

  1. การลดความชื้นข้าวหลังเก็บเกี่ยว การลดความชื้นหรือการตากข้าว โดยทั่วไปแล้วมี 2 วิธีคือ
  2.  – การตากสุ่มซัง หลังจากเกี่ยวแล้วจะตากรวงข้าวทิ้งไว้บนตอซังประมาณ 3-4 แดด แล้วนำไปนวด เป็นวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติกันโดยทั่วไ
  3.  – การตากหลังนวด เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วทำการนวดทันที กรณีนี้จะทำเมื่อต้องการนำข้าวไปบริโภคแต่พบไม่บ่อยนัก

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่

โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *