ผักชี ปลูกแบบง่ายๆทำได้ไม่ยาก!

ผักชี ปลูกแบบง่ายๆทำได้ไม่ยาก!

ผักชี ที่เราเห็นบ่อย ๆ นั้น มักใช้ที่จะใช้โรยหน้าบนอาหารประเภทต่าง ๆ ผักชีไทย จะมีความหอมเฉพาะตัว แต่นอกจากจะตกแต่งหน้าตาให้อาหารนั้นน่ารับประทานแล้ว ยังมีประโยชน์อีกหลายต่อร่างกายอีกด้วย 

ผักชี คือ?

เป็นพืชสมุนไพร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย คือ ผักที่มีสีเขียวทั้งต้น มีส่วนรากเป็นสีขาว หาทานได้ตลอดปี ผักชีไทยทุกส่วนนั้น สามารถนำมาเป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร และเป็นยารักษาโรค หรือเป็นน้ำกระสายยา และสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิดได้ แต่ที่นิยมที่สุด คือ การนำผักชีมาโรยหน้าอาหาร ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มสีสัน และแต่งกลิ่นให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้นนั่นเอง

วิธีการปลูกผักชี แบบง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?

เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชผักให้เหมาะสมตามฤดูกาล อย่างช่วงต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผักที่น่าจะปลูกกันก็มีหลากหลายชนิด เช่น คะน้า, กุยช่าย, บวบเหลี่ยม, ผักกาดหัว, ผักกาดหอม, กวางตุ้งไต้หวัน, ข้าวโพดหวาน, หอมแดง, หอมแบ่ง, น้ำเต้า, ผักบุ้งจีน, กระเจ๊ยบเขียว, มะระ, ฟักเขียว, แฟง, แตงกวา, ถั่วพุ่ม, ถั่วฟักยาว, พริก และมะเขือต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พืชเศรษฐกิจอย่างผักชี หากคิดจะปลูกนอกฤดูกาล ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะแม้ว่าสภาพชื้นแฉะ และเชื้อรา จะเพิ่มความลำบากในการปลูก คลินิกพืชคูลเกษตร

ผักชี

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

วิธีปลูกผักชี

เมล็ดพันธุ์ที่มีการปลูกในปัจจุบัน คือ พันธุ์สิงคโปร์ และพัน ธุ์ไต้หวัน เมล็ดพันธุ์ผักชี ที่ซื้อตามร้านค้า มักผสมกับสารกันแมลง และความชื้นมาด้วย ควรล้างออกให้สะอาด และแช่ด้วยน้ำสะเดาประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนนำมาหว่านที่แปลง เพื่อช่วยป้องกันแมลงมากัดกินเมล็ดพันธ์ุผักชี ก่อนการงอก

สำหรับการแช่ อาจแช่ใส่ถังน้ำ หรือใส่ห่อผ้ามัด และแช่ในถังก็ได้ ไม่ควรหว่านเมล็ดเยอะ จนขึ้นเบียดกันแน่น เพราะจะทำให้ต้นเน่า อาจนำเมล็ดที่เตรียมไว้แล้ว มาผสมกับทรายหยาบ แล้วหว่านเมล็ดไปพร้อมทราย เพื่อให้เมล็ดกระจายตัว ควรใช้ฟางข้าวที่มีการบด หรือสับขนาดสั้น ๆ และไม่หว่านโปรยให้หนาจนเกินไป พร้อมทำการรดน้ำให้ชุ่ม

เมื่อต้นผักชีเริ่มงอกให้นำ สแลน หรือตาข่ายกรองแสงมาคลุมสูงประมาณ 1 เมตร โดยเปิดให้ผักชีได้รับแสงแดดในช่วงเช้าแล้วจึงคลุมด้วยสแลนในเวลาแดดแรง รวมทั้งคลุมตอนที่ฝนตกเพื่อลดการกระแทกของฝน ระยะเริ่มแรกหลังการหว่านเมล็ด จะให้น้ำประมาณ 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้าเย็นทุกวัน จนถึงระยะประมาณ 30 วัน ให้เว้นช่วงวันให้น้ำ ประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง โดยให้น้ำเช้า-เย็นเช่นกัน สำหรับช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ 1 สัปดาห์ ควรให้น้ำน้อยลงประมาณ 3-4 วันต่อครั้ง

การใส่ปุ๋ย

ให้ใช้น้ำแช่ปุ๋ยคอก เช่น มูลโค กระบือ ไก่ หมู โดยทำการแช่น้ำใส่ถังทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์ และนำเอาส่วนที่เป็นน้ำรดในแปลงผักชี ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเป็นการร่วมกับการให้น้ำทั่วไป ทั้งนี้ ให้เริ่มการให้ปุ๋ยน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากการงอก นอกจากนั้น ให้นำเศษมูลสัตว์ ที่เป็นตะกอนหลังการแช่น้ำ โปรยหว่านในแปลงเป็นระยะ ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน

ศัตรูพืชของผักชี มักไม่พบมากนัก แต่เพื่อความมั่นใจ ให้ใช้น้ำต้มใบสะเดา หรือใบพืชที่มีลักษณะขม เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด เป็นต้น รดในแปลง สัปดาห์ละครั้ง ผักชีสามารถเก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุประมาณ 30-45 วัน ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ให้รดน้ำในแปลงให้ดินชุ่มเสียก่อน จะทำให้ถอนรากผักชีได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

สรรพคุณและประโยชน์ของผักชี

ผักชีไทย ไม่ใช่แค่มีดีเพียงโรยหน้า แต่มีประโยชน์มากมายเพราะในผักชี อุดมไปด้วยวิตามินซี, วิตามินเค และโปรตีน ยังมีส่วนช่วยในการดูแลสุภาพอีกด้วย

คลินิกพืชคูลเกษตรข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรทานแค่พอเหมะ เพราะผักชีไทย มีโพแทสเซียมสูง จะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้

ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ ควรระวังการแพ้พืชวงศ์ผักชี หรือใครที่แพ้ ขึ้นฉ่าย, ยี่หร่า, กระเทียม, หอมใหญ่ จำเป็นต้องระวังอย่างสูง เพราะอาจเกิดการแพ้ได้อาการแพ้ที่พบได้ คือ ผื่นคัน ตาอักเสบ แสบเยื่อบุจมูก

ในคนที่ปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ฟันผุ หรือเป็นคนที่มีกลิ่นตัวแรง กลิ่นรักแร้แรง หรือเป็นฝี ไม่ควรกินผักชี เพราะจะทำให้กลิ่นต่าง ๆ หรือมีอาการรุนแรงขึ้น

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่

โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

                                                                       อ้างอิง

  • https://www.sgethai.com/article/
  • https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2236477

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *