“ผักหวาน” ใครว่าปลูกง่ายดูแลยากออกยอดตัดขายได้ทั้งปี

“ผักหวาน” ใครว่าปลูกง่าย ดูแลยาก ออกยอดตัดขายได้ทั้งปี? จำได้ว่าสมัยก่อน ผักหวานป่า หากินยากมาก เพราะจะมีอยู่แต่ในป่าและได้กินเฉพาะช่วงหน้าร้อน-หน้าฝน เท่านั้น แต่หลายปีมานี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผักชนิดนี้มีกินได้ตลอดทั้งปี ในราคาที่จับต้องได้

  • ผักหวาน ป่านอกจากจะทำเป็นอาหารได้หลายเมนูแล้ว คนโบราณยังนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด เนื่องจากเป็นพืชที่มีโปรตีน วิตามินซี และใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ในส่วนของรากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ อีกทั้งแก่นต้นผักหวานนำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดตามข้อ
  • สำหรับชา ผักหวานป่า มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก ดื่มง่าย ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เทคนิคการปลูกผักหวานป่า
  • คลินิกพืชคูลเกษตรแนะนำเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลผักหวานป่าเพื่อให้ออกตลอดทั้งปีโดยเน้นปลูกจากการเพาะเมล็ดเป็นหลัก เนื่องจากจะได้ต้นผักหวานป่าที่มีรากเดินดีและแข็งแรง อีกทั้งจะมีชีวิตอยู่ได้นานเป็น 100 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ชั่วลูกชั่วหลาน

สำหรับขั้นตอนการปลูกก็ไม่ยาก เริ่มจาก

  1. รองก้นหลุมด้วยขี้วัว
  2. ปลูกหลังจากเพาะกล้าเมล็ดได้สัก 1 เดือน
  3. ขุดหลุมปลูกไม่ต้องให้ลึกมาก
  4. ระยะปลูกที่แนะนำ 1×1 เมตร จะได้จำนวน 400 ต้น ต่อไร่ และระยะ 2×2 เมตร จะได้ 200 ต้น ต่อไร่
  5. ต้นอ่อนต้องครอบด้วยกระถางหรือเข่งไม้ไผ่ ให้ต้นกล้าผักหวานป่าต้นอ่อนโดนแสงแดดน้อย เป็นเวลา 1 ปี
  6. หลังปลูกเสร็จ ต้องให้น้ำประมาณ 1 เดือน ก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง
  7. ในฤดูกาลแตกยอดเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปี ในช่วงที่ต้องการให้ผักหวานป่าออกยอด ควรตัดแต่งกิ่ง
  8. ให้ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ปีละ 2-3 ครั้ง
  9. พ่นน้ำหมักชีวภาพหัวปลีฉีดพ่นยอดผักหวานป่า จะทำให้ยืดยาวได้น้ำหนัก ช่วงที่เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ราบดอนประมาณเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม เมื่อได้รับน้ำสม่ำเสมอผักหวานป่าจะเจริญเติบโตเร็ว ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นเนินเขา ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก จะต้องปลูกประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

พืชมีปัญหาปรึกษาคลินิกพืชคูลเกษตรทันทีได้ที่

  • ที่คลินิกพืชคูลเกษตรหลายคนบอกว่า ปลูกง่าย ดูแลยาก ตายง่าย โตช้า มีแนวโน้มตายมากกว่ารอด แต่จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาของทางคลินิกพืชคูลเกษตร ค้นพบเทคนิคการปลูกผักหวานป่าให้รอด และโตไวด้วยวิธีธรรมชาติแบบง่ายๆ ดังนี้
  1. ปลูกในพื้นที่ป่าที่มีอยู่แล้ว เช่น ป่าเต็งรัง สวนป่า
  2. ผักหวานป่าชอบแดดรำไร ชอบมีต้นไม้พี่เลี้ยง เช่น ตะขบ มะขามเทศ ยางนา ขี้เหล็ก มะม่วง ประดู่
  3. ที่ดินเหมาะแก่การปลูก ต้องเป็นที่เนิน ดอน ภูเขา น้ำไม่ท่วมขัง
  4. การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกผักหวานป่า เช่น ห้ามน้ำท่วมขัง ให้น้ำในหน้าแล้ง ต้องวางระบบน้ำให้ดี
  • สำหรับการดูแลต้นผักหวานป่าให้ได้ใบดกและดี มีหลายปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง อย่างเช่น ระวังหนู และแมงอีนูน หนอนจาะแทะต้น ระวังน้ำขัง รากเน่า ฝนฟ้าพายุ และระวังอย่าเหยียบหรือกระแทกต้นผักหวานบ่อยๆ
  • คลินิกพืชคูลเกษตร บางพื้นที่ด้วยความที่ดินเป็นที่ราบดอน การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งจำเป็น จึงขุดสระน้ำและเจาะบ่อบาดาลไว้ใช้ พอถึงหน้าแล้งก็บริหารจัดการน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ หน้าฝนก็คอยดูแลไม่ให้น้ำท่วมขัง เพราะถ้าปล่อยให้น้ำแช่ขังจะทำให้รากเน่า ต้นผักหวานจะตายได้ ที่สำคัญต้องคอยตรวจว่ามีหนอนเจาะต้นผักหวานป่าหรือไม่ เพราะแมลงหนอนร้ายจะมากับพวกปุ๋ยขี้ไก่
  • ผักหวานป่าจะแตกยอดยาวพร้อมเก็บ และเก็บได้ต่อเนื่องจนถึงเดือนกรกฎาคม หากต้องการเก็บยอดจนถึงเดือนสิงหาคม สามารถกระตุ้นให้แตกยอดได้ด้วยการลิดใบแก่ออก และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจากเดือนสิงหาคมแล้ว ให้หยุดการเก็บยอด จนกว่าจะถึงกลางเดือนกันยายน ค่อยเริ่มการตัดแต่งกิ่งลิดใบออกอีกครั้ง เพื่อจะได้ยอดอีกครั้งกลางเดือนตุลาคม ซึ่งผักหวานป่าจะพักตัวช่วงหน้าฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายนและในช่วงฤดูหนาว ถ้าเจออากาศหนาวเย็นผักหวานป่าจะไม่ชอบ เริ่มจากเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม จะหยุดชะงัก ยอดหงิกงอ หลังจากนั้นผักหวานป่าจะออกยอดดีในฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว เป็นช่วงออกยอดดี ได้ผลผลิต

ซื้อออนไลน์ ห่างไกลโควิด ส่งไว ส่งฟรี ยินดีให้บริการ มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ช่องทางการสั่งซื้อและขอคำปรึกษา จัดการได้ทันที สอบถามได้ที่ โทร. 095-237-1723

เข้ากลุ่มคนรักพืช เพื่อติดตามความรู้ใหม่ๆ สอบถามปัญหาพืช ได้ทุกวันที่นี่

ไลน์แอด @koolkaset คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อโดยตรงทาง คลินิกพืชคูลเกษตร คลิกที่นี่ 

สั่งซื้อทาง ลาซาด้า คลิกที่นี่

สั่งซื้อทาง ช้อปปี้ คลิกที่นี่  

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #แฟง #แตง #ลิ้นจี้ #ลองกอง #พุทรา #ขนุน #แก้วมังกร #คะน้า #กวางตุ้ง #ผักชี #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ #ดาวเรือง #มะลิ #เบญจมาศ #สร้อยทอง #องุ่น #สาลี่ #ฝรั่ง #มะยงชิด

#คลินิกพืช #คลินิกพืชคูลเกษตร #คูลเกษตร #ที่ปรึกษาพืช #ออนไลน์ #ทั่วไทย #ที่ปรึกษาพืชออนไลน์ทั่วไทย #KoolKaset #พืช #เกษตร #แมลง #หนอน #เพลี้ย #ปุ๋ย #กำจัดหญ้า #กำจัดแมลง #ศัตรูพืช #วัชพืช #โรคพืช #ต้นไม้ #เพลี้ยไฟ #เพลี้ยจั๊กจั่น #เพลี้ยอ่อน #แมลงหวี่ขาว #หญ้า #ไร #ผลไม้ #ไม้ดอก #ข้าว #ข้าวโพด #ลำไย #มะม่วง #ข้าวโพด #มันสำปะหลัง #มันเทศ #กัญชา #กระท่อม #ทุเรียน #พริก #มะเขือ #มะนาว #ถั่วฝักยาว #ถั่วพลู #ถั่วเขียว #ถั่วเหลือง #ถั่วดำ #กล้วย #กล้วยหอม #สัปปะรด #มะพร้าว #อินทผาลัม #ผักกาด #กะหล่ำปลี #กะหล่ำดอก #โหระพา #กะเพรา #สะระแหน่ #บวบ #ฟักทอง #แตงโม #แตงกวา #แตงร้าน #แตงไทย #มะระ #น้ำเต้า #กระเจี๊ยบ #แอปเปิ้ล #สตรอเบอรี่ #มะละกอ #มะขาม #มะขามเทศ #เห็ด #ถั่วแขก #หน่อไม้ฝรั่ง #แครอท #หัวไช้เท้า #เผือก #มันเทศ #ชา #กาแฟ #มะกรูด #ตะไคร้ #ส้มเขียวหวาน #ส้ม #ส้มโอ #ฟัก #ผักชีฝรั่ง #ผักชีลาว #แคนตาลูป #มะเขือพวง #มะเขือเปราะ #มะเขือยาว #มะเขือม่วง #โคโลคาเซีย #ไทรเกาหลี #กุหลาบ

อ้างอิง

  • https://www.technologychaoban.com 

  • https://www.sanook.com 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *